วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้ามาของฝรั่งเศสในสยาม

การเข้ามาของฝรั่งเศสในสยาม

การเดินทางของบาทหลวงลาม๊อต ลังแบรต์
(De La Motte Lambert)

         บันทึกหลายฉบับของบาทหลวงฝรั่งเศส โดยมีเหตุการณ์น่าสนใจ คือบาทหลวงฝรั่งเศสคณะแรกที่เข้ามาในกรุงศรีอยุธยา บาทหลวงลาม๊อต ซึ่งเป็นสังฆราช แห่งแบริธ (Eveque de Beryte) เป็นหัวหน้าคณะร่วมกับ บาทหลวง เดดิเอร์ (D’idier) และบาทหลวงเดอบูร์ซ (De Brourges
โดยเดินทางเข้kมาทางกรุงมะริด เพื่อเตรียมการไปเผยแผ่ศาสนา
การเดินทางของบาทหลวง
1.ได้เดินทางจากฝรั่งเศสผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
2.ข้ามทะเลและเข้าทางเมืองสุรัต (Suratte) ของอินเดีย ข้ามทะเลอันดามัน
3.ถึงเมืองเมืองตะนาวศรี แล้วลงจากเรือใหญ่ ที่เมืองมะริดของอาณาจักสยาม
**ใช้เวลาหลายวันหลายคืนจนมาถึงกรุงศรีอยุธยา**
4. ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2209 คณะบาทหลวงได้พยายามเดินทางลงเรือไปเขมร 
   เรือล่มลงใกล้จันทบุรี จึงเดินทางกลับอยุธยาทางบก มาอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านชาวญวน
5. ในเวลาเดียวกันนั้น คณะทูตทางศาสนาอีกคณะหนึ่งที่ได้เดินทางมาอาณาจักรสยาม
    ในเวลาใกล้เคียงกัน คือคณะของ สังฆราชปัลลือ พร้อมกับบาทหลวงอีก 4 รูป
ผลสำเร็จของบาทหลวง
1. สังฆราชปัลลือได้พบกับสังฆราช เดอ ลาม๊อต ลังแบรต์ ในอาณาจักรสยามแล้ว จึงพากันตกลงที่
    จะใช้อาณาจักรสยาม เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่ของคริสตจักร ซึ่งพระนารายณ์มหาราชทรงให้การ
    ต้อนรับคณะบาทหลวงชาวฝรั่งเศสเป็นอย่างดี  
2. นอกจากจะเผยแพร่คริสต์ศาสนาแล้ว  พวกบาทหลวงยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างรัฐบาลของ
    พระเจ้าหลุยส์ที่  14  กับราชสำนักอยุธยา
ปฏิสัมพันธ์ของสยามกับฝรั่งเศสในสมัยสมัยสมเด็จพระนารายณ์ราชาธิราช 
  มีการแลกเปลี่ยนคณะทูตระหว่างกัน
  - คณะทูตของฝรั่งเศสชุดแรกมีเชอวาเลีย  เดอ  โชมอง เป็นราชทูต  
  - คณะทูตชุดที่ 2 เข้ามาใน พ.ศ.  2230  มีลาลูแบร์  เป็นราชทูต  
ส่วนคณะทูตของไทยที่เดินทางไปถึงฝรั่งเศสและมีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือคือคณะทูตที่มี 
พระวิสุทธสุนทร ( โกษาปาน )  เป็นราชทูต

จุดมุ่งหมาย
พยายามโน้มน้าวให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มอบสิทธิพิเศษให้กับชาวฝรั่งเศส
เพื่อให้คนไทยยอมรับนับถือคริสต์ศาสนานิการโรมันคาทอลิก 

ต่อมา คอนสแตนติน  ฟอลคอน ได้รับตำแหน่งเป็นเสนาบดีมีบรรดาศักดิ์เป็นออกญาวิไชเยนทร์ 
ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ใช้อิทธิพลที่มีอยู่ในราชสำนักสนับสนุนให้กอง
ทหารฝรั่งเศสเข้ามาประจำการที่บางกอกและมะริด เพื่อป้องกันการก่อกบฏของขุนนางไทย
เพื่อเป็นเครื่องค้ำประกันผลประโยชน์และอิทธิพลในราชสำนักของฟอลคอนให้มั่นคง     

      ช่วงปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

      ขุนนางไทยรวมตัวกันต่อต้านฟอลคอนและฝรั่งเศส ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์
มหาราชประชวร  เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง  โดยพระเพทราชาหัวหน้าขุนนางไทยได้
เข้ายึดอำนาจการปกครอง  ฟอลคอนถูกประหาร กองทหารฝรั่งเศสถูกล้อมที่ป้อมเมือง
บางกอกและถูกขับไล่ออกไปใน พ.ศ. 2231 ทำให้สัมพันธ์กับฝรั่งเศสหยุดชะงักไปเป็น
เวลา 15 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2399 คณะตัวแทนจากฝรั่งเศสหลายคณะได้เดินทางมายัง
ประเทศไทยเพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์เช่นกัน คณะฯที่มีชื่อเสียงที่สุดเห็นจะได้แก่คณะ
ของเชอร์วัลลิเยร์ เดอ โชมงต์ ความสัมพันธ์ทางด้านการทูตของทั้งสองประเทศเริ่มขึ้น
อย่างเป็นทางการอีกครั้งเมื่อปีพ.ศ.2399 และได้มีการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ด้านการทูต
ระหว่างสองประเทศครบ 15 ปีเมื่อปีพ.ศ.2549

ศิลปวิทยาของฝรั่งเศสในสยาม


บ้านหลวงรับราชทูตที่ลพบุรี 


ฝึกกองทหารแบบยุโรป


หอดูดาวที่ลพบุรี 
วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 


การล่าอาณานิคมในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

     เมื่อปีพ.ศ.2436 วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 เกิด กรณีพิพาทระหว่างประเทศสยามและประเทศฝรั่งเศส
- ทำให้ความสัมพันธ์อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
                          - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง
      สัมพันธภาพดังกล่าวดีขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งประเทศไทยร่วมมือ ทางการทหารกับฝรั่งเศส หลังสงครามสิ้นสุด ในปีพ.ศ.2461 ประเทศสยามได้ส่งทหารเข้าร่วมสวนสนามที่ถนนชองส์ เอลิเซส์ ประเทศฝรั่งเศส อีกด้วย

ความสัมพันธ์ของไทยและฝรั่งเศส
           
      ประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสได้กระชับความสัมพันธ์ทั้งด้านการทูตและการเมือง รวมถึงด้านการทหาร (รัชกาลที่ 7 ทรงเป็นพระสหายร่วมชั้นกับนายพลเดอ โกลล์ของฝรั่งเศส) และด้านวัฒนธรรม นักศึกษาจากประเทศสยามเดินทางไปศึกษาต่อที่กรุงปารีสเป็นจำนวนหลายคน รวมถึงท่านปรีดี พนมยงค์ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาประเทศไทยยุคใหม่  ช่วงต้นปีพ.ศ. 2543 ความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสและไทยกลับกระชับเหนียวแน่นอีกครั้งพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้เยือนประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2546 ประเทศทั้งสองพร้อมใจที่จะเปิดศักราชใหม่ของความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและด้านวิทยาศาสตร์

บุคคลสำคัญของฝรั่งเศส
          
นายฌากส์ ชิรัค
การเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายฌากส์ ชิรัค ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 ในฐานะราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะสมานความสัมพันธ์ฝรั่งเศสไทยให้แน่นแฟ้นขึ้นอีกครั้ง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเสนอให้มีการรับร่างสนธิสัญญาสมานฉันท์และความร่วมมือแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (หรือ TAC) เพื่อกระตุ้นให้มีการหารือทางด้านการเมืองระหว่างประเทศทั้งสองมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมความร่วมมือด้านความปลอดภัยและการป้องกันประเทศ การช่วยเหลือประเทศที่สาม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น